“นายกฯอิ๊งค์” ไม่ได้นั่งนายกฯ แต่ยังเป็นรัฐมนตรี แบบนี้ผิดไหม?

เรื่องราวความชอบธรรมของ นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร (อิ๊งค์) ในการเข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กลายเป็นประเด็นแรงเมื่อ วุฒิสภา (ส.ว.) แสดงจุดยืนว่าไม่สามารถรับตำแหน่งดังกล่าวได้ โดยอ้างถึงสถานะที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีอยู่ก่อน ขณะที่ฝั่งรัฐบาลยืนยันว่าท่านยังมีสิทธิรับตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ได้ ก่อนการอภิปรายและการยื่นตรวจสอบข้อกฎหมายอีกระลอกในวันนี้

ส.ว.ชี้ “อิ๊งค์” รับตำแหน่ง วธ. ไม่ชอบธรรม

มีรายงานข่าวว่า สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กลุ่มหนึ่งเข้าหารืออย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการยื่นเรื่องถอดถอน แพทองธาร ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยถือเป็นการเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง “พักหน้าที่” เธอในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการถูกยื่นคำร้องว่าขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ

ล่าสุด นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเป็นอดีตกรรมการแพทยสภาและเป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อ ได้ยื่นหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้วินิจฉัยว่า แพทองธาร ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมทั้งขอให้มีคำสั่ง “พักการปฏิบัติหน้าที่” ทันทีระหว่างรอคำวินิจฉัย

ขณะเดียวกัน มีรายงานจากฝ่ายขั้วตรงข้ามรัฐบาลว่า ขบวนการล่ารายชื่อ ส.ว. กำลังเกิดขึ้นแบบเงียบๆ และมีการใช้กลุ่มภาคประชาชนบางส่วนเป็นผู้เริ่มต้น เพื่อไม่ให้ดูเป็นการเมืองภายในวุฒิสภาโดยตรง หากมีการยื่นเรื่องผ่านกลไกของรัฐธรรมนูญครบถ้วน และศาลรับวินิจฉัย ก็อาจนำไปสู่การ “แขวนตำแหน่ง” รัฐมนตรีวัฒนธรรมทันทีในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้ แพทองธาร ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทั้งในฐานะนายกรัฐมนตรี (ที่ถูกพักแล้ว) และรัฐมนตรีวัฒนธรรม (ที่อาจถูกพักต่อ)

ประเด็นนี้กลายเป็นที่จับตาในแวดวงการเมือง เนื่องจากหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องและมีคำสั่งพักหน้าที่เพิ่มเติม อาจทำให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการบริหารในเชิงสัญลักษณ์ และจะกระทบต่อความชอบธรรมของรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ

ฝ่ายรัฐบาลชี้ “อิ๊งค์” ยังมีสิทธิรับตำแหน่ง

ด้าน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าตามกฎหมายไทย ยังไม่มีการชี้ขาดว่าคุณสมบัติของนางสาวแพทองธารถูกเพิกถอน จึงสามารถเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีวัฒนธรรมได้ตามปกติ

ส่วน นายสมชาย แสวงการ อดีต ส.ว. และผู้เคยโพสต์เตือนในลักษณะเดียวกัน ได้ให้เหตุผลเชิงกฎหมาย โดยระบุหากศาลสั่งพักนายกฯ ก็มีความเป็นไปได้ที่ตำแหน่งรัฐมนตรีจะถูกพักด้วยเช่นกัน แต่จนถึงขณะนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ชัดเจน

ตาม มาตรา 160 (4) และ (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หลักเกณฑ์คุณสมบัติของรัฐมนตรีต้องไม่ขาดความซื่อสัตย์สุจริตหรือประพฤติผิดจริยธรรม ล่าสุดศาลรับคำร้องพักนางสาวแพทองธารในฐานะนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่งก็ทำให้เรื่องนี้มีความคลุมเครืออยู่มาก

นักกฎหมายจำนวนมาก เห็นว่ากรณีนี้อาจไม่เคยเกิด นั่นคือตำแหน่งนายกฯ และรัฐมนตรีสามารถพิจารณาแยกกันได้ หากศาลสั่งพักนายกฯ อย่างเดียว แต่ถ้าระบุชัดเจนว่าเกิดการขาดคุณสมบัติในฐานะนายกรัฐมนตรี ก็อาจกระทบความชอบธรรมในตำแหน่งนัฐมนตรีด้วยเช่นกัน

ทรัมป์ประกาศตกลงการค้ากับเวียดนาม ไทยเตรียมเจรจาวันนี้ หวังเลี่ยงภาษี 36%

ศาลปกครองสั่งรับคำฟ้อง ปม กสทช. ปล่อยให้ OTT มีโฆษณาแทรก